WACOAL BRADAY
โครงการบราเก่าเราขอ
นำบราเสื่อมสภาพมาย่อยสลายเพื่อใช้เป็นพลังงาน เชื้อเพลิงระบบปิดในเตาเผาปูนซิเมนต์ จำนวนบรารวมถึง 200,000 ตัว แล้ว เทียบเท่าขยะชุมชนจำนวน 20 ตันเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่ากับ จำนวนต้นไม้ 3000 ต้น หรือการใช้พลังงานจากถ่านหินถึง 25 ตัน
โครงการ “วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ”
WACOAL BRA DAY | บราเก่า...เราขอ
“บราเก่า..เราขอ” ได้มะ?.. เพราะกว่า #บรา จะย่อยก็ 100 กว่าปีนะยูวววว์..
นำบราเก่าเสื่อมสภาพของคุณ มาบริจาคกันเถอะกับโครงการ #วาโก้บราเดย์
#วาโก้ นำบราเก่าของคุณไปย่อยสลาย โดยกรรมวิธีที่ไม่ปล่อย CO2 และไม่ก่อให้เกิดฝุ่นจิ๋ว
ที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม มาร่วมทำขยะ = ศูนย์กันค่ะ
แนวคิด Zero Waste หรือ ขยะ = ศูนย์
นั่นคือการกำจัดขยะให้มีปริมาณคงเหลือน้อยที่สุด จนไม่มีขยะเหลือเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนระดับชาติภายใต้สภาวะโลกร้อน (Global Warming) ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่รวมทั้งประเทศไทยเองด้วย โดยมีหลักการสำคัญ คือ การใช้วัตถุดิบที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ให้มากที่สุด ลดปริมาณของเสียที่จะทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตสินค้าใหม่ที่ผสมผสานการนำวัสดุกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้รณรงค์การใช้สินค้าที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ พัฒนาการนำขยะกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ ช่วยยกระดับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของชุมชน และสร้างงานใหม่ๆ ให้กับชุมชน
Wacoal Braday ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ไฟแรง นะโม-ติณห์ ตันโสภณ
พูดคุยกับดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ไฟแรง นะโม-ติณห์ ตันโสภณ ในหัวข้อ แฟชั่นรักษ์โลก "จากบราเก่า" เหมือนหลุดไปอยู่ในยุคสิ้นโลก
โครงการ “วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ” เข้าสู่ปีที่ 12 ในปี พ.ศ. 2566
รณรงค์ให้รักษ์โลกด้วยสองมือ โดยการกำจัดบราและชุดชั้นในเก่าอย่างถูกวิธี และแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานเปลี่ยนบราหรือชุดชั้นในเก่าให้เป็นศูนย์ ด้วยการเผาอย่างถูกวิธีในความร้อน 1,800 องศาเซลเซียส ไม่เหลือแม้ขี้เถ้าให้กลายเป็นฝุ่น PM 2.5 วาโก้สนับสนุนให้ “รักษ์โลก” อย่างยั่งยืน ง่ายๆแค่คนละ 2 มือรวมใจ ทำให้สังคมและโลก น่าอยู่..ร่วมกัน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมกับโครงการ “วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ” ด้วยการนำบราเก่าหรือชุดชั้นในทั้งหญิงและชายทุกแบรนด์ มาบริจาคได้ตลอดทั้งปี ที่วาโก้ช็อปและเคาน์เตอร์วาโก้ทุกสาขาทั่วประเทศ
"วันบราเดย์"
ต้นกำเนิดบราตัวแรกของโลก
"วันบราเดย์" ต้นกำเนิดบราตัวแรกของโลก
12 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 1913 ถือเป็นวันกำเนิดบราตัวแรกขึ้นบนโลก ซึ่งจุดเริ่มต้นของ "ชุดชั้นใน" นั้น แท้จริงแล้วมาจากภาษาอังกฤษ ที่เรียกว่า อันเดอร์แวร์ (Underwear) แต่คนในสมัยก่อนจะเรียกว่า เฟาเดชั่น (Foundation) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแต่งตัวมีหลายรูปแบบทั้งท่อนบน และท่อนล่าง ส่วนคำว่าชุดชั้นในสตรี เรียกทับศัพท์ อีกอย่างหนึ่งว่า "บรา" (Bras) มาจากคำเต็มว่า บราเซียร์ (Brassiere) หมายถึง ชุดชั้นในท่อนบนของผู้หญิงซึ่งเริ่มสวมใส่ และพัฒนากันมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 (ค.ศ.1900-1950)
บราชนิดแรกออกแบบ โดย Mary Phelps Jacob ในปี ค.ศ. 1913 หรือเกือบ 100 ปีมาแล้ว ได้มีการจดลิขสิทธิ์ของชุดชั้นในเป็นครั้งแรกด้วย Mary Phelps Jacob เป็นสาวสังคมชั้นสูงของนิวยอร์ค เธอเกิดเมื่อปี ค.ศ.1891 และ ได้ออกแบบ บราสำหรับผู้หญิงได้สำเร็จ เมื่ออายุ 22 ปี โดยสาเหตุเริ่มมาจากวันหนึ่ง Mary ซื้อเสื้อคลุมตัวยาวไว้เพื่อออกงานสังคมหรูหรา แต่ชุดชั้นในที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นเพียง คอร์เซต ตัวแข็งทื่อที่มีโครงทำจากกระดูกปลาวาฬ หลังจากแต่งตัวเสร็จแล้ว เธอเห็นว่าโครงของคอร์เซตโผล่ออกมาจากเสื้อคลุม ทำให้เสื้อคลุมตัวสวยด้อยความงามไปทันที เธอจึงหันมาใช้ริบบิ้นสีชมพูเป็นสายพาดกับไหล่ ผูกกับผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่จับมุมเป็นเหลี่ยมใช้ประคองหน้าอก ผูกใต้หน้าอกแทนคอร์เซตแบบเดิม ซึ่งต่อมาในเวลาไม่นาน บราเซียในแบบของ Mary เป็นที่ยอมรับและกล่าวขานในวงการแฟชั่นแล้วจึงค่อยๆ พัฒนามาเป็น Backless Brassiere ในปัจจุบัน จึงถือได้ว่า Mary Phelps Jacob เธอเป็นผู้คิดค้นและออกแบบชุดชั้นในคนแรกของโลก